|
ให้การปรึกษาระบบ TSMTSM (Transport Safety Manager) ประกอบด้วย 2 ส่วนๆ แรกคือบุคคลากรและส่วนที่สองคือข้อกำหนดหรือภาระกิจหน้าที่ 5 ด้าน 8 บท
ด้านบุคคลากรหมายถึง TSM ผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนกับผู้ประกอบการขนส่ง เช่น นายแดง ขึ้นทะเบียนกับบริษัท สมศรี ทรานสปอร์ต เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ตามประกาศของกรมการขนส่งทางบก ส่งผลให้บริษัท สมศรี ทรานสปอร์ต มีคุณสมบัติสอดคล้องตามประกาศของกรมการขนส่งทางบกและเมื่อจะเพิ่มจำนวนรถหรือยื่นต่ออายุประกอบการก็สามารถดำเนินการได้เพราะมีนายแดงเป็น TSM ขึ้นทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ด้านข้อกำหนดหรือภาระกิจหน้าที่ 5 ด้าน 8 บท หมายถึงนายแดง จะต้องทำหน้าที่ให้คำแนะนำบริษัท สมศรี ทรานสปอร์ต ให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของ TSM การแนะนำควรมีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้แน่ใจว่านายแดง ได้ให้คำแนะนำบริษัท สมศรี ทรานสปอร์ตแล้ว หากมีเหตุเกิดขึ้นก็จะมิใช่การปฏิบัติงานที่บกพร่องของนายแดง เพราะนายแดงได้ทำหน้าที่ให้คำแนะนำแก่บริษัท สมศรี ทรานสปอร์ตแล้ว ในทางตรงกันข้าม หากว่านายแดงมิได้บอกหรือแนะนำใด ๆ แล้วมีเหตุเกิดขึ้นจะมิเป็นการบกพร่องของบริษัท สมศรี ทรานสปอร์ต นายแดงอาจถูกว่ากล่าวตักเตือนหรือพักการปฏิบัติหน้าที่ TSM ทั้งนี้และทั้งนั้นขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและดุลยพินิจของหน่วยงานที่กำกับควบคุม แนวทางการแนะนำ: TSM จำเป็นต้องเริ่มแนะนำข้อกำหนดที่สำคัญมากเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย โดยเฉพาะสิ่งที่มีบทปรับหรือบทลงโทษหนัก พอสรุปได้ว่าผู้ประกอบการขนส่งที่มี TSM สมบูรณ์ (2 ส่วน) จะสามารถตอบคำถามเมื่อถูกประเมินจากผู้ว่าจ้างหรือเป็นข้อได้เปรียบเมื่อประมูลงานสัญญาใหม่ ๆ TSM Milestone: -สัปดาห์ที่ 1: แจ้งข้อกำหนดที่สำคัญที่สุดให้ผู้ประกอบการทราบเป็นลายลักษณ์อักษร -สัปดาห์ที่ 2: แจ้งข้อกำหนดที่ช่วยลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุ (TSM ควรมีตัวอย่างให้ผู้ประกอบการ) -สัปดาห์ที่ 3: แจ้งข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องทั้งหมดพร้อมอธิบายให้ผู้ประกอบการได้ทราบรายละเอียด การประเมินและวัดผล: เริ่มหลังจากได้แจ้งข้อกำหนดแล้ว ระยะเวลาการสร้างระบบ TSM: 3 - 6 เดือนขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กรและศักยะภาพผู้รับการปรึกษา |
|